
PHU WIANG NATIONAL PARK


ด่านเก็บค่าธรรมเนียม อุทยานแห่งชาติภูเวียง
-
เป็นด่านเก็บค่าธรรมเนียมก่อนเข้าสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูเวียงและเช็คความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเพราะเส้นทางอันตราย ระหว่างเดินทางอาจมีสัตว์ป่าวิ่งตัดหน้าหรือเกิดอุบัติเหตุได้ จึงต้องให้นักท่องเที่ยวปลอดภัยก่อนเดินทาง
-
นักท่องเที่ยวทุกคนต้องมีหมวกกันน็อคจึงจะเข้าสถานที่ท่องเที่ยวได้ ถ้าไม่มีเจ้าหน้าที่อุทยานมีให้เช่า ราคา 30บาท
อัตราค่าบริการในการเข้าชมอุทยานแห่งชาติภูเวียง
-
ผู้ใหญ่ 40 บาท/คน
-
เด็กอายุ 3-14 ปี 20 บาท/คน
-
ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 200 บาท/คน
-
ชาวต่างชาติเด็ก 100 บาท/คน
ค่าบริการยานพาหนะ
-
จักรยาน ไม่เสียค่าบริการ
-
จักรยานยนต์ 20 บาท/คัน
-
รถยนต์ 4 ล้อ 30 บาท/คัน
-
รถยนต์ 6 ล้อ 100 บาท/คัน
-
รถยนต์ 10 ล้อ 200 บาท/คัน
แจ้งเหตุฉุกเฉิน
1362,1669,043438333



รอยตีนไดโนเสาร์
Dinosaur footprints
รอยตีนไดโนเสาร์ มากกว่า 68 รอย ใน 10 แนวทางเดิน อายุประมาณ 140 ล้านปีเกือบทั้งหมดเป็นรอยตีนของไดโนเสาร์กลุ่มออร์นิโธมิโมชอร์ แต่หนึ่งในรอยตีนเหล่านั้นมีขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ และมีรอยทางเดินของสัตว์กลุ่มจระเข้ขนาดเล็กบนลานหินทรายหมวดหินพระวิหาร




ช่วงมีน้ำตก
น้ำมากในช่วงเดือน สิงหาคม - พฤศจิกายน

การเดินทาง
เส้นทางเดินสะดวก มีความอันตรายแค่บางจุด




น้ำตกตาดฟ้า
Tat Fa waterfall
น้ำตกตาดฟ้า เป็นน้ำตกชั้นเดียว ขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 15 เมตร เกิดจากลําห้ วยบองซึ่งมีต้นกําเนิด จากเขาภูเวียงบริเวณตาดฟ้าซึ่งเป็นป่าดิบแล้งที่สมบูรณ์ แล้วไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ โดยมีน้ำมากในช่วงเดือน สิงหาคม - พฤศจิกายน หน้าผาน้ำตกตาดฟ้าเกิดจากรอยแตกในชั้นหินที่เกิดจากการยกตัวของแผ่นเปลือกโลกเมื่อประมาณ 65 - 50 ล้านปีก่อน หลังจากนั้นประมาณ 1.8 ล้านปีต่อมา เกิดการแทรกสลับกันของชั้นหินที่มีความคงทนแตกต่างกัน โดยชั้นหินที่มีความคงทนน้อยซึ่งด้านล่างได้ถูกน้ำกัดเซาะเกิดเป็นโพลงเว้าเข้าไปในเนื้อหินทำให้ชั้นหินที่อยู่ด้านบนไม่มีอะไรรองรับจึงหักพังทลายลงมาตามแนวรอยแตกเกิดเป็นหน้าผาน้ำตกตาดฟ้าในที่สุด


ผาชมตะวัน
Chom Tawan Cliff
ผาชมตะวัน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 687 เมตร อุณภูมิต่ำสุดประมาณ 8 องศาเซลเซียส ซึ่งในบริเวณนี้สามารถพบเห็นหมอกหรือืะเบหมอกได้อย่างชัดเจนในช่วงหลังฝนตกหรือในฤดูหนาว
หมอกและทะเลหมอก มีพื้นฐานของการเกิดขึ้นเหมือนกัน คือเกิดจากอุณภูมิของอากาศที่ที่ลดลงมากจนต่ำกว่าจุดน้ำค้างทำให้ไอน้ำเกิดการกลั่นตัวเป็นละอองน้ำขนาดเล็กในบรรยากาศใกล้ผิวโลก หมอกก็คือเมฆที่เกิดในระดับใกล้พื้นโลกซึ่งมีลักษณะการเกิดคล้ายเมฆ หมอกทุกชนิดเกิดเมื่ออุณหภูมิอากาศมีค่าเท่ากับอุณหภูมิจุดน้ำค้าง ทำให้อากาศเกิดการอิ่มตัว (saturate) แล้วกลั่นตัว (condense) เป็นละอองน้ำเล็ก ๆ
ละเทหมอก มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ช่วงหลังฝนตกและในช่วงฤดูหนาว ทะเลหมอกเป็นหมอกที่ปกคลุมพื้นที่ กว้าง ๆ ในหุบเขาในประเทศไทยมีทะเลหมอกเกิดขึ้นได้หลายแห่ง รวมทั้งบริเวณผาชมตะวัน อุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น



สิ่งอำนวยความสะดวก






ลานกางเต็นท์ตาดฟ้า
Tat-fah campsite
ลานกางเต็นท์ตาดฟ้า สัมพัสหมอกเย็น ๆ ในภูและน้ำค้างยามเช้า ณ ลานกางเต็นท์ตาดฟ้า อุทยานแห่งชาติภูเวียง ทางอุทยานยังมีเต็นท์ให้และมีบริการอื่น ๆ ในราคาที่เป็นมิตร และลานกางเต็นท์ ตาดฟ้ายังอยู่ใกล้สถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง เดินทางไปได้อย่างสะดวกเลยทีเดียว
อัตราค่าบริการสิ่งอำนวยความสะดวก
-
เต็นท์ ขนาด 3คนนอน 225บาท/คืน
-
ถุงนอน 30บาท/คืน
-
แผ่นรองนอน 20บาท/คืน
-
หมอน 10บาท/คืน
-
เช่าพื้นที่กางเต็นท์ 30บาท/คืน
-
เรือนนอนเยาวชน 6000บาท/คืน
สิ่งอำนวยความสะดวก
สำหรับคนที่ไม่สะดวกนอนในเต็นท์ อุทยานมีบ้านพักให้เช่าด้วยนะครับ





เสมา ๘ ทิศ
Sema Stone
“เสมา” หรือ “สีมา เป็นประติมากรรมหินสลัก ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเพื่อแสดงขอบเขต พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่พระสงฆ์ทําสังฆกรรมร่วมกัน เสมามีความสําคัญต่อพุทธสถานอย่างยิ่ง ซึ่งมีการสร้างอย่างแพร่หลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ซึ่งเป็นยุคที่วัฒนธรรมทวารวดี เจริญรุ่งเรืองขึ้น การปักใบเสมา สันนิษฐานว่าอาจจะเกี่ยวกับคติความเชื่อ
๑.คติที่สืบทอดมาจากประเพณีการปักหินตั้ง (Megaliths) โดยเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษของชนพื้นเมืองในเอเชียอาคเนย์
๒.คติการสร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักเขตกําหนดบริเวณศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา
๓.คติเป็นตัวแทนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สําหรับเคารพบูชา ทําหน้าที่คล้ายสถูปเจดีย์หรือพระพุทธรูปเพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา : การปักใบเสมา แบ่งเป็น ๓ แบบ คือ
๑. ปักหลักเดียว เพื่อแสดงเขตหรือตําแหน่งของบริเวณพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์
๒ ปักเป็นกลุ่ม. พบว่ามีการปักล้อมรอบเนินดินหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีการกําหนดทิศทางแน่นอน
๓. ปักประจําทิศ มีตั้งแต่การปัก ๔ ทิศ ๔ ทิศ ไปจนถึง ๑๖ ทิศ โดยปักล้อมรอบเนินดินหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา เพื่อแสดงเขตของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
สําหรับใบเสมาที่พบในพื้นที่แหล่งโบราณสถานรอบเขาภูเวียง มีลักษณะเป็นแท่งหินหรือแผ่นหิน และแกะสลักรูปสันนูนทรงสามเหลี่ยมคล้ายสถูปบริเวณกึ่งกลางใบ ซึ่งสถูปเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ปัก ๔ ทิศ ล้อมรอบเนินดินเพื่อแสดงเขตของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์